วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยและสากล

การนับศักราช

การนับและเทียบศักราชสากลและไทย

1.การนับศักราชสากล ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”

2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1

พุทธศักราช (..) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยน ศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่ โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.. 2483 เป็นต้น มา

คริสต์ศักราช (..) เริ่มนับ เอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี การคำนวณเดือนของ ค.. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

มหาศักราช (..) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่ง ในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1 วิธีกานับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี

จุลศักราช (..) เริ่มนับเมื่อ พ.. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดย จะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็น วันขึ้นปีใหม่

รัตนโกสินทร์ ศก (..) ตั้งขึ้น เมื่อ พ.. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาใน

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร..)

วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ..
.. = .. + 543 หรือ .. = .. - 543
.. = .. + 621 หรือ .. = .. - 621
.. = .. + 1,181 หรือ .. = .. - 1,181
.. = .. + 2,324 หรือ .. = .. - 2,324

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

- แบ่งตามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์

- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ

- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ

- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง


1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการบันทึก เรื่องราวต่างๆ จะอาศัยหลักฐานที่มีการขุดค้นพบเพื่อการวิเคราะห์ตีความ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัตศาสตร์ในประเทศไทยออก เป็นดังนี้

1). ยุคหิน เป็นยุคสมัยเริ่มแรกที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ไม่มีอยู่อาศัยแน่นอน เคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ อาศัยเครื่องมือหินกะเทาะเพื่อการล่าสัตว์ และป้องกันตัว ซึ่งในยุคหินนี้จะสามารถแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้

- ยุคหินเก่า จะเป็นพวกแร่ร่อน อาศัยตามถ้ำ ใช้เครื่องมือหินกรวดกะเทาะด้านเดียวที่ไม่มีความประณีต เช่น ขวานหินกำปั้น หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านแม่ทะ และบ้านดอลมูล จ. ลำปาง รวมถึงที่บ้านเก่า ต. จระเข้เผือก อ. เมือง จ.กาญจนบุรี

- ยุคหินกลาง จะเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยเครื่องมือหินจะมีความประณีตยังอาศัยอยู่ใน ถ้ำ และนำเอาวัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นอุปกรณ์ในการดำรงชีวิต ซึ่งพบได้จากเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณถ้ำผี จ.แม่ฮ่องสอน

- ยุคหินใหม มนุษย์ในยุคนี้จะเริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัย มีการสร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า ขวานหินขัด หรือขวานฟ้า รวมทั้งการสร้างภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และการนำกระดูกสัตว์มาประยุกต์ดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านโนนกทา ต.บ้านนาดี อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น และที่ถ้ำผาแต้ม อ.โขงเจียน จ. อุบลราชธานี

2.) ยุคโลหะ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้แร่ธาตุมาประดิษฐ์เป็น อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ยุคย่อย ได้แก่

- ยุคสำริด โดยมนุษย์ในยุคนี้มีพัฒนาการความคิดในการประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ โดยเอาสำริด คือ แร่ทองแดงผสมกับดีบุก มาหล่อหลอมเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ใช้ในการดำรงชีวิต รวมถึงมีการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามเป็น เอกลักษณ์เด่นหลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

- ยุคโลหะ มนุษย์ในยุคนี้จะเป็นชุมชนเกษตรที่มีการขยายตัวใหญ่ขึ้น มีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จะนำเอาแร่เหล็กมาหลอมสร้างเป็นอุปกรณ์ เนื่องจากจะมีความทนแข็งแรงมากกว่า รวมถึงรู้จักการสร้างพิธีกรรมโดยอาศัยภาชนะดินเผาต่างๆ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านดอลตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจบุรี รวมถึงหมู่บ้านใหม่ชัยมงคล จ. นครสวรรค์


2. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มต้นเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น เพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรม จึงทำให้รับรู้เรื่องราวทางประวัติสาสตร์ให้มากขึ้น การบันทึกในระยะแรกจะปรากฏอยู่ในกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นหิน ใบลาน เป็นต้น สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งเป็นช่วงเวลาต่างๆ ดังนี้

1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่ละประเทศจะเริ่มไม่พร้อมกัน ในสมัยประวัติศาสตร์สากลเริ่มตั้งแต่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมกรีก-โรมันและสิ้นสุดใน ค.ศ.476 เมื่อกรุงโรมแตก

2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังที่กรุงโรมแตกในค.ศ. 476 จนกระทั่งค.ศ. 1453 เมื่อพวกที่นับถือศาสนาอิสลามตีกรุงคอนสเตนติโนเปิลของโรมันตะวันออกแตกจน กระทั่งสิ้น สุดสงครามโลกครั้งที่ 2

3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มหลังจากที่กรุงคอนสเตนติโนเปิลแตกจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยดังกล่าว นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เข้าใจช่วงเวลาต่างๆ ได้ง่าย เพราะไม่ได้มีการกล่าวถึงศักราช แต่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยนิยมใช้ มักจะใช้อาณาจักรหรือราชธานีเป็นตัวกำหนดแทน

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย

สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม

- สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒

- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖

- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐

- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕

- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น