วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา



ความหมาย    คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา "     แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "  ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗


ความสำคัญ    วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ


1. เป็นวันประสูติ

เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระ เจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี 




2. เป็นวันตรัสรู้

หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ( ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )





3. วันปรินิพพาน

หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก           องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก





วิธีปฏิบัติตนและพิธีกรรมในวันวิสาขบูชา
1.      ตอนเช้าทำบุญตัก บาตรที่วัด รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และเจริญจิตภาวนา
2.      ตอนค่ำประชาชรมา ร่วมพิธีเวียนเทียนโดยมาพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ  ในขณะที่เวียนเทียนให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยและสากล

การนับศักราช

การนับและเทียบศักราชสากลและไทย

1.การนับศักราชสากล ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”

2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1

พุทธศักราช (..) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยน ศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่ โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.. 2483 เป็นต้น มา

คริสต์ศักราช (..) เริ่มนับ เอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี การคำนวณเดือนของ ค.. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

มหาศักราช (..) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่ง ในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1 วิธีกานับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี

จุลศักราช (..) เริ่มนับเมื่อ พ.. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดย จะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็น วันขึ้นปีใหม่

รัตนโกสินทร์ ศก (..) ตั้งขึ้น เมื่อ พ.. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาใน

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร..)

วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ..
.. = .. + 543 หรือ .. = .. - 543
.. = .. + 621 หรือ .. = .. - 621
.. = .. + 1,181 หรือ .. = .. - 1,181
.. = .. + 2,324 หรือ .. = .. - 2,324

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

- แบ่งตามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์

- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ

- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ

- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง


1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการบันทึก เรื่องราวต่างๆ จะอาศัยหลักฐานที่มีการขุดค้นพบเพื่อการวิเคราะห์ตีความ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัตศาสตร์ในประเทศไทยออก เป็นดังนี้

1). ยุคหิน เป็นยุคสมัยเริ่มแรกที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ไม่มีอยู่อาศัยแน่นอน เคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ อาศัยเครื่องมือหินกะเทาะเพื่อการล่าสัตว์ และป้องกันตัว ซึ่งในยุคหินนี้จะสามารถแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้

- ยุคหินเก่า จะเป็นพวกแร่ร่อน อาศัยตามถ้ำ ใช้เครื่องมือหินกรวดกะเทาะด้านเดียวที่ไม่มีความประณีต เช่น ขวานหินกำปั้น หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านแม่ทะ และบ้านดอลมูล จ. ลำปาง รวมถึงที่บ้านเก่า ต. จระเข้เผือก อ. เมือง จ.กาญจนบุรี

- ยุคหินกลาง จะเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยเครื่องมือหินจะมีความประณีตยังอาศัยอยู่ใน ถ้ำ และนำเอาวัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นอุปกรณ์ในการดำรงชีวิต ซึ่งพบได้จากเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณถ้ำผี จ.แม่ฮ่องสอน

- ยุคหินใหม มนุษย์ในยุคนี้จะเริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัย มีการสร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า ขวานหินขัด หรือขวานฟ้า รวมทั้งการสร้างภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และการนำกระดูกสัตว์มาประยุกต์ดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านโนนกทา ต.บ้านนาดี อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น และที่ถ้ำผาแต้ม อ.โขงเจียน จ. อุบลราชธานี

2.) ยุคโลหะ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้แร่ธาตุมาประดิษฐ์เป็น อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ยุคย่อย ได้แก่

- ยุคสำริด โดยมนุษย์ในยุคนี้มีพัฒนาการความคิดในการประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ โดยเอาสำริด คือ แร่ทองแดงผสมกับดีบุก มาหล่อหลอมเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ใช้ในการดำรงชีวิต รวมถึงมีการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามเป็น เอกลักษณ์เด่นหลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

- ยุคโลหะ มนุษย์ในยุคนี้จะเป็นชุมชนเกษตรที่มีการขยายตัวใหญ่ขึ้น มีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จะนำเอาแร่เหล็กมาหลอมสร้างเป็นอุปกรณ์ เนื่องจากจะมีความทนแข็งแรงมากกว่า รวมถึงรู้จักการสร้างพิธีกรรมโดยอาศัยภาชนะดินเผาต่างๆ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านดอลตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจบุรี รวมถึงหมู่บ้านใหม่ชัยมงคล จ. นครสวรรค์


2. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มต้นเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น เพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรม จึงทำให้รับรู้เรื่องราวทางประวัติสาสตร์ให้มากขึ้น การบันทึกในระยะแรกจะปรากฏอยู่ในกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นหิน ใบลาน เป็นต้น สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งเป็นช่วงเวลาต่างๆ ดังนี้

1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่ละประเทศจะเริ่มไม่พร้อมกัน ในสมัยประวัติศาสตร์สากลเริ่มตั้งแต่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมกรีก-โรมันและสิ้นสุดใน ค.ศ.476 เมื่อกรุงโรมแตก

2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังที่กรุงโรมแตกในค.ศ. 476 จนกระทั่งค.ศ. 1453 เมื่อพวกที่นับถือศาสนาอิสลามตีกรุงคอนสเตนติโนเปิลของโรมันตะวันออกแตกจน กระทั่งสิ้น สุดสงครามโลกครั้งที่ 2

3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มหลังจากที่กรุงคอนสเตนติโนเปิลแตกจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยดังกล่าว นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เข้าใจช่วงเวลาต่างๆ ได้ง่าย เพราะไม่ได้มีการกล่าวถึงศักราช แต่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยนิยมใช้ มักจะใช้อาณาจักรหรือราชธานีเป็นตัวกำหนดแทน

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย

สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม

- สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒

- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖

- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐

- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕

- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน